กลุ่ม airway disease assembly เป็นกลุ่มทางวิชาการและการวิจัยโดยแพทย์และนักวิชาการที่มีความสนใจทางด้านโรคหลอดลม หรือ airway disease อันได้แก่ โรคหืด (asthma) ปอดโรคอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease, COPD) โรคหลอดลมโป่งพอง (bronchiectasis) และโรคหลอดลมอื่นๆ ในนามของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อร่วมทำกิจกรรมทางวิชาการและการวิจัยในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดลม โดยมีพันธกิจในการจัดมาตรฐานแนวทางการวินิจฉัย และการรักษา และการจัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคหืดระดับรุนแรงและปอดอุดกั้นเรื้อรังในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ และการประสานความร่วมมือกับสมาคมวิชาชีพอื่น ๆ เช่นสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมูโนวิทยา และสมาพันธ์สภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทยในการกำหนดมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดลม ในรูปแบบสหสาขาวิชา และบูรณาการ รวมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องของการป้องกัน และดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดลมในประเทศไทย
ขอบข่ายงาน
- ทำงานวิจัยจากฐานข้อมูลเกี่ยวกับโรคหืดระดับรุนแรงในประเทศไทยที่จะมีการดำเนินการเก็บอย่างเป็นระบบในชื่อว่าโครงการ Severe Asthma Registry Program Thailand หรือ SARP-T ในเรื่องลักษณะทางคลินิก การ ทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การสืบค้นหา biomarkers ที่เหมาะสมในการแยกชนิดของโรคหืดชนิดรุนแรงและการทำนายการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาที่จำเพาะสำหรับโรคหืดขั้นรุนแรง ตลอดจนการรักษาที่ได้รับในปัจจุบัน ผลการรักษาของโรคหืด และอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืด โดยเรื่องที่ถือเป็นพันธกิจที่รีบด่วนเกี่ยวกับโรคหืด คือ
- การสรุปอัตราการรับไว้รักษาที่ห้องฉุกเฉินเนื่องจากหืดกำเริบในประเทศไทย (asthma exacerbation in Thailand)
- การสรุปอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืดในประเทศไทย (asthma mortality in Thailand)
- การลงทะเบียนผู้ป่วยหืดรุนแรง (Severe asthma registry) ในรูปแบบสหสถาบันในประเทศไทยอันประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เพื่อจำแนกลักษณะจำเพาะของผู้ป่วยโรคหืดขั้นรุนแรง (Severe asthma phenotypes) เช่น small airway dysfunction หรือ fixed airflow limitation asthma เป็นต้น
- การจัดทำแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดขั้นรุนแรง (Thai severe asthma guideline) ร่วมกับสมาพันธ์องค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย และสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา ในการวินิจฉัยและรักษาหืดรุนแรงในประชากรไทย โดยเริ่มต้นจากการระดมสมองของนักวิชาการในกลุ่มเพื่อวางรูปแบบของการจัดทำแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดขั้นรุนแรงภายใต้สถานการณ์ที่มีข้อจำกัดเรื่องทรัพยากรสาธารณสุข
- อบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในระดับปฐมภูมิ เกี่ยวกับมาตรฐานกาวินิจฉัยและรักษาโรคหืด (Thai Asthma Guideline) ที่จัดทำโดยสมาพันธ์องค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา โดยจัดทำเป็นการสัมมนาสัญจรภายใต้การร่วมมือของเครือข่ายการบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ตามภูมิภาคต่าง ๆ อันได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ หมุนเวียนไป ทุก 3 เดือน
- ทำงานวิจัยโดยการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในประเทศไทยในชื่อว่าโครงการ Surveillance of ABCD phenotypes in Thailand ในแง่ลักษณะทางคลินิก จำนวนและสัดส่วนผู้ป่วยในกลุ่ม ABCD ตาม multi-dimensional approach ของ GOLD โรคร่วมหรือ co-morbidities การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การสืบค้นหา biomarkers ตลอดจนข้อมูลการรักษาที่ได้รับในปัจจุบัน ผลการรักษาของโรคโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในประเทศไทย เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในประเทศไทย โดยเรื่องที่กลุ่ม Assembly of Airway Diseases ถือเป็นพันธกิจ ที่รีบด่วน คือ
- ลงทะเบียนผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (ABCD surveillance in Thailand) ในรูปแบบสหสถาบันในประเทศไทยอันประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ศรีนครินทร์ ขอนแก่น และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
- ศึกษาอุบัติการณ์ของหลอดลมอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลล์ในผู้ป่วย COPD จากการตรวจเลือดหาจ านวน
เม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลล์ ในระดับประเทศ (Eosinophilic phenotype of Thai COPD) ภายใต้ความร่วมมือในรูปแบบสหสถาบันในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
- การศึกษาอุบัติการณ์และลักษณะชนิดของ pulmonary emphysema ที่ได้จากการตรวจ high resolution computed tomography และผลกระทบต่อการตอบสนองทางอาการและสมรรถภาพปอดของผู้ป่วย COPD ต่อยาขยายหลอดลมที่ใช้รักษาโรค ในรูปแบบสหสถาบันในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ศรีนครินทร์ขอนแก่น และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เพื่อหาลักษณะจำเพาะของผู้ป่วย COPD (Emphysema phenotypes)
- อบรมให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ในระดับปฐมภูมิ เกี่ยวกับมาตร ฐานการวินิจฉัยและรักษาโรค COPD (Thai COPD Guideline) ที่จัดทำโดย สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยจัดทำเป็นการ สัมมนาสัญจรภายใต้การร่วมมือของเครือข่ายการบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ตามภูมิภาคต่างๆ อันได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ หมุนเวียนไป ทุก 3 เดือน
- เป็นตัวแทนด้านวิชาการในการเสนอหัวข้อเรื่องที่จะบรรยายและจัดหัวข้อประชุม ในงานประชุมวิชาการของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี หรือการประชุมกลางปี รวมทั้งการอบรมแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด และการจัดสรรข้อสอบ ของสมาคมและราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ตามที่ได้รับมอบหมาย
- เป็นตัวแทนของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้านวิชาการ ในการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ประชาชน ในการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคและการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในรูปการสัมนา หรือการเสวนา โดยความร่วมมือกับองค์กรอิสระหรือสื่อมวลชน
- เป็นเป็นตัวแทนสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการประสานงานร่วมกับสมาคมวิชาชีพอื่นเกี่ยวกับงานทางวิชาการ งานวิจัย
- เป็นตัวแทนของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ติดต่อกับต่างประเทศในนามของสมาคม เช่น Airway disease assembly ของ Asia Pacific Respiratory Society, European Respiratory Society และ American College of Chest Physician
- การให้คำแนะนำ ติดต่อช่วยเหลือแพทย์ ผ่านทางระบบสารสนเทศของสมาคมสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย
ประธาน
ศ.ดร.นพ.กิตติพงศ์ มณีโชติสุวรรณ
เลขาธิการ
รศ.นพ.ศิวศักดิ์ จุทอง
ที่ปรึกษา
- พลโท นพ. อดิศร วงษา
- ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์
- รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์
คณะอนุกรรมการ
- รศ.พญ.เบญจมาศ ช่วยชู
- รศ.พญ.ประภาพร พรสุริยะศักดิ์
- ผศ.นพ.อภิชาติ คณิตทรัพย์
- ผศ.นพ.มนะพล กุลปราณีต
- ผศ.นพ.ศุภฤกษ์ ดิษยบุตร
- พญ.วรวรรณ ศิริชนะ
- นพ.ธิติวัฒน์ ศรีประสาธน์
- พญ.นภารัตน์ อมรพุฒิสถาพร
- พญ.นิษฐา เอื้ออารีมิตร
- ผศ.นพ.อติคุณ ลิ้มสุคนธ์ (ภาคเหนือ)
- นพ.อนุชิต นิยมปัทมะ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
- ผศ.นพ.ศิวศักดิ์ จุทอง (ภาคใต้)
- พญ.สิริพันธุ์ วัฒนสิริภักดี
- นพ.ณรงค์วิทย์ นาคขวัญ
- นพ.สมชัย อัศวรัศมี
- นพ.สันติ สิลัยรัตน์
หน้าที่หลักของคณะอนุกรรมการฯ
- กำหนดแนวนโยบายระดับประเทศ เรื่องการวินิจ ฉัย การรักษา การป้องโรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ในประเทศไทย
- จัดการฝึกอบรม แพทย์และเจ้าหน้าที่ด้านการสาธารณสุข แนวทางการวินิจฉัยและรักษาหืด
- กำหนดงานวิชาการ ด้านการฝึกอบรม ในระดับการศึกษาหลังปริญญา ทุกระดับ
- ประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ (ในนามสมาคมอุรเวชสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย)
- กำหนดทิศทางของการท าวิจัย เกี่ยวกับโรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหลอดลมอื่นๆ